ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักละเลยไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของกฎหมาย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือมักจะมองข้ามไป หากไม่เกิดปัญหาหรือข้อพิพาทขึ้นก็มักจะไม่คิดถึงเรื่องกฎหมาย ทั้งๆที่จริงแล้วการประกอบกิจการไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามล้วนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายทั้งสิ้น การที่ผู้ประกอบกิจการประเภทใดก็ตามทำให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มและยึดหลักกฎหมายในการดำเนินกิจการเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เพราะหากเกิดข้อพิพาททางกฎหมายขึ้นไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกก็มักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการดำเนินการเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการจึงควรคำนึงถึงหลักการประกอบการตามสุภาษิตไทยที่ว่า"กันไว้ดีกว่าแก้"
หากจะประกอบกิจการโดยก่อตั้งเป็นบริษัทในการเริ่มดำเนินการล้วนแต่มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในเริ่มต้นจะต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ร่วมกิจการ 7 คน ซึ่งเป็นข้อบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เมื่อก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาแล้ว บริษัทจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีความรับผิดเป็นของตนเองแยกออกจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการ (ผู้ถือหุ้น) บริษัทจะอยู่ภายใต้การบริหารของกรรมการ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งหรือถอดถอนได้จากผู้ถือหุ้น ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัดเพียงเงินที่ยังมิได้ชำระค่าหุ้นเท่านั้น หากผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนไปแล้วก็ไม่ต้องรับผิดในส่วนนอกเหนือจากนั้นอีก แต่ผู้ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น จะต้องทำงบดุลของบริษัทส่งกรมสรรพกร ซึ่งหากกรรมการของบริษัทไม่ดำเนินการก็จะมีความผิด การไม่ส่งงบดุลของบริษัทนั้นนอกจากบริษัทจะต้องเสียค่าปรับแล้ว ตัวกรรมการยังมีโทษทางอาญาอีกด้วย
หากจะประกอบกิจการโดยก่อตั้งเป็นบริษัทในการเริ่มดำเนินการล้วนแต่มีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในเริ่มต้นจะต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยมีผู้ร่วมกิจการ 7 คน ซึ่งเป็นข้อบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เมื่อก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาแล้ว บริษัทจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีความรับผิดเป็นของตนเองแยกออกจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการ (ผู้ถือหุ้น) บริษัทจะอยู่ภายใต้การบริหารของกรรมการ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งหรือถอดถอนได้จากผู้ถือหุ้น ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัดเพียงเงินที่ยังมิได้ชำระค่าหุ้นเท่านั้น หากผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนไปแล้วก็ไม่ต้องรับผิดในส่วนนอกเหนือจากนั้นอีก แต่ผู้ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น จะต้องทำงบดุลของบริษัทส่งกรมสรรพกร ซึ่งหากกรรมการของบริษัทไม่ดำเนินการก็จะมีความผิด การไม่ส่งงบดุลของบริษัทนั้นนอกจากบริษัทจะต้องเสียค่าปรับแล้ว ตัวกรรมการยังมีโทษทางอาญาอีกด้วย
เมื่อประกอบธุรกิจแล้วมีการซื้อขายสินค้า มีการทำสัญญาเช่าก็จะต้องมีการชำระค่าสินค้าหรือค่าเช่า บางครั้งอาจชำระเป็นเช็ค ซึ่งเช็คตามกฎหมายถือเป็นตราสารชนิดหนึ่งเพื่อประโยชน์ในทางการเงิน การสั่งจ่ายเช็คโดยที่ไม่มีเงินในบัญชี หรือมีเงินในบัญชีไม่พอเมื่อครบกำหนดตามเช็ค อาจมีโทษทางอาญาทั้งจำหรือปรับ หากผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับเช็ค ผลสุดท้ายอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องรับโทษทางอาญาโดยที่ผู้ประกอบการไม่มีเจตนาจะไม่ชำระเงินตามเช็ค แต่อาจเกิดจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยก็เป็นได้
ในการประกอบกิจการหากต้องมีการทำสัญญากับบุคคลภายนอก ถ้อยคำในสัญญา บางครั้งเป็นภาษากฎหมาย ผู้ประกอบการอาจไม่เข้าใจกับภาษากฎหมาย เมื่อผู้ประกอบการลงนามในสัญญานั้นไปแล้วก็เท่ากับผูกพันตนไปกับสัญญานั้น ทั้งที่ยังไม่เข้าใจข้อสัญญาอย่างถ่องแท้ ซึ่งส่งผลให้อาจเสียเปรียบกับคู่สัญญาได้
ปัญหาและข้อพิพาทต่างๆของผู้ประกอบการในการทำธุรกิจก็มักเกิดจากความไม่เข้าใจหรือขาดความรู้ทางด้านกฎหมายของตัวผู้ประกอบการ รวมถึงไม่ให้ความสำคัญในเรื่องกฎหมายอันจะนำมาซึ่งความเสียหายในอนาคต
ดังนั้น ก่อนที่จะประกอบธุรกิจรูปแบบใดก็ตาม นอกจากจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องตัวสินค้า กระบวนการผลิต วิธีการหาตลาด ฯลฯ ผู้ประกอบการควรศึกษาหาความรู้ในด้านกฎหมายควบคู่ไปด้วย อาจไม่ต้องศึกษาจนเชี่ยวชาญเท่ากับนักกฎหมาย แต่ก็ควรศึกษาจนถึงขั้นเข้าใจจนไม่ให้ใครมาเอาเปรียบได้ หากไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักกฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น