วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตอบคำถามประจำสัปดาห์ ที่ 8

เมื่อฟัง พี่ถาวร แล้ว ท่านคิดว่าอย่างไร 


         จากที่ได้รับฟังประสบการณ์ ของพี่ๆแล้วทำให้ได้รับรู้ในเรื่องราวของการทำงาน การใช้ชีวิตจริงในสังคมเมืองในปัจจุบัน ได้รู้ว่าในการทำงานมีอุปสรรคต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ้านาย ถ้าเรามีเจ้านายที่ดีการทำงานก็จะดีไปแต่หากเราเจอเจ้านายที่ชอบให้เราต้องประจบก็อาจจะแย่ ทั้งนี้ในเรื่องราวที่พี่ได้เล่ามาทำให้รู้ในเรื่องราวที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งในการใช้ชีวิตจริง การปรับตัว แต่สิ่งหนึ่งที่พี่ถาวรได้บอกก็คือการลาออกจากงานเพื่อมาทำงานเป็นผู้ประกอบการเอง เพราะพี่แกอยากออกมาอยู่กับพ่อแม่และครอบครัว แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นหรอกนะ พี่ถาวรบอกว่าเราต้องอดทน ต้องสู้กว่าจะมีเงินที่พอกินพอใช้ และทำให้ครอบครัวสบาย ถือได้ว่าแกเป็นตัวอย่างที่ดูเลยก็ว่าได้ พี่เก่งมากนะคะ ตอนที่นั่งฟังไปก็คิดว่า เราจบไปแล้วจะไปทำอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่พี่ถาวรได้บอกก็คือ เราต้องอดทนและสู้ เพื่อจะได้ในสิ่งที่เราต้องการ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำถามประจำสัปดาห์ 5

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการท่องเที่ยวและสุขภาพ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านสุขภาพ
ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
         เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้ 
   - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
   - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
   - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
   - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการท่องเที่ยว
         เทคโนโลยีผสมกลมกลืนกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยการพัฒนาต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของโทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Tablet ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งหมายถึงผู้คนจะเชื่อมต่อกันตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกบ้าน ดังนั้น ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีมีบทบาทในอนาคตอย่างมากในการยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวของนักเดินทาง เนื่องด้วยบริการบอกตำแหน่งสถานที่ (Location-based services) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้จัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางต่างๆ มีความสามารถในการติดตาม, โต้ตอบกับนักท่องเที่ยวได้ดีกว่า ทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและแม่นยำกว่า ซึ่งเป็นการทำให้ความพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น โลกปัจจุบันที่อยู่ในช่วงรอยต่อของการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น iPad ได้เปลี่ยนแปลงการนั่งใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะให้มาอยู่ในมือของผู้บริโภคแทน ธุรกิจที่สนใจในเทคโนโลยีแบบนี้และสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเต็มที่จะมีข้อดีเหนือกว่าคู่แข่งด้วยการเข้าถึงและการขยายความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนกับลูกค้า

     แม้ว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่ครอบคลุมในทุกภาคส่วน ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการบินที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาตั้งแต่ต้นในการบริหารจัดการและทำให้การปฏิบัติการต่างๆ ง่ายขึ้น โดยเกิดข้อดีมากมาย แต่ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมโรงแรมที่พักต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวขนาดเล็กกลับสนใจระบบนี้น้อยกว่าและเริ่มจะหันมาสนใจไม่นานนัก ทั้งๆ ที่ในครึ่งศตวรรษมีการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่จะเห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังคงเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้ว
ภาพรวม

     ข้อมูลข่าวสารถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากถ้าปราศจากข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น จะทำให้แรงกระตุ้นของลูกค้าและความสามารถในการจองการเดินทางถูกจำกัดอย่างมาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น การผลิต (generation), การรวบรวม (gathering), การจัดการ(processing), การใช้ประโยชน์ (application) และการสื่อสาร (communication) ของข้อมูล สำคัญในการปฏิบัติการต่างๆ ในภาคการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต้องการข้อมูลก่อนการเดินทางในการช่วยวางแผนและเป็นตัวเลือก รวมทั้งต้องการข้อมูลที่เป็นรายละเอียดระหว่างการเดินทางเพื่อเป็นแนวทางในการท่องเที่ยวแบบอิสระ การจัดการเรื่องที่พัก การเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ การวิจัยแสดงให้เห็นว่ายิ่งระดับความเสี่ยงทางการรับรู้มีมากขึ้นเท่าไร นักท่องเที่ยวก็จะหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อโปรแกรมการท่องเที่ยวมากขึ้นเท่านั้น


 

     การท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางการเงินและทางอารมณ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสังคมชาวตะวันตก เวลาได้กลายเป็นสิ่งหายาก ซึ่งจะเห็นได้จากนักท่องเที่ยวจำนวนมากเห็นว่าวันพักผ่อนเป็นการลงทุนทางอารมณ์และทางการเงินที่สำคัญซึ่งไม่สามารถแทนด้วยสิ่งใดได้ ดังนั้น เพื่อที่จะลดความเสี่ยงของพวกเขาให้เหลือน้อยที่สุด พวกเขาจะเลือกโปรแกรมการท่องเที่ยวอย่างระมัดระวังโดยหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะใช้ในการตัดสินใจและลดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและประสบการณ์ การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างแม่นยำและทันเวลา จึงมีความสำคัญมากในการช่วยพวกเขาตัดสินตัวเลือกที่เหมาะสม
คุณค่าสำคัญของข้อมูลก่อนการเดินทาง
     การต้องการข้อมูลก่อนการเดินทางถูกให้ความสำคัญต่างกันตามลักษณะของสินค้าและบริการการท่องเที่ยว  อันดับแรกคือการจับต้องไม่ได้ซึ่งไม่เหมือนกับสินค้าทั่วไป  การท่องเที่ยวไม่สามารถตรวจสอบได้ก่อนการซื้อ  ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับคำบรรยายต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวเห็นความแตกต่างของสินค้าและการบริการต่าง ๆ  อันดับสองคือความซับซ้อนและการพึ่งพาอาศัยกัน  บริการการท่องเที่ยวมีความหลากหลายและในความหลากหลายนี้เองที่ทำให้แต่ละบริการมีความน่าสนใจตั้งแต่แรก  นอกจากนี้บริการการท่องเที่ยวไม่สามารถให้บริการโดยลำพังได้  การผสมผสานอย่างไม่รู้จบ และตัวเลือกเส้นทางท่องเที่ยว รูปแบบการเดินทาง เวลาและที่พักทำให้การท่องเที่ยวยุ่งยากแม้แต่นักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์ก็ตาม


     ผู้จัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวจัดหาข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับ ใบปลิว หรือคู่มือท้องถิ่น  อย่างไรก็ตามการพัฒนาและแจกจ่ายสิ่งโฆษณาเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาพอสมควร  สิ่งตีพิมพ์แต่ละชิ้นต้องได้รับการออกแบบมาเพื่อดึงดูดผู้อ่านให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และข้อจำกัดของพื้นที่หมายความถึงการต้องเลือกรูปภาพใส่ลงไปในสื่อเหล่านั้น  และที่สำคัญกว่านั้น ข้อมูลที่อยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จะไม่เปลี่ยนแปลง  ในขณะที่ข้อมูลจำนวนมากที่จำเป็นในการขายบริการท่องเที่ยวนั้นต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อตอบสนองอุปสงค์และอุปทาน  ดังนั้น ก่อนที่จะทำการจองนักท่องเที่ยวจะติดต่อกับผู้จัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวเพื่อยืนยันว่าสินค้าและบริการการท่องเที่ยวนั้นยังคงให้บริการอยู่ รวมทั้งเป็นการตรวจสอบราคาที่ขายจริง  ด้วยกระบวนการเช่นนี้ นักท่องเที่ยวต้องดำเนินขั้นตอนอย่างน้อย 3 ขั้นตอนในการซื้อสินค้าและบริการการท่องเที่ยว เริ่มจากการค้นหาข้อมูล การติดต่อกับผู้จัดหาสินค้าและบริการ และสุดท้ายการจอง ผู้จัดหาบริการการท่องเที่ยวต้องจัดเจ้าหน้าที่จำนวนมากไว้ตอบคำถามทางโทรศัพท์ โต้ตอบอีเมล รวมทั้งดูแลงานเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนการบริหารจัดการที่สูง  โดยลูกค้ามักจะพบกับความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ จึงทำให้เป็นการจำกัดความสามารถในการจองบริการการท่องเที่ยว